ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 1) โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
0 - 25 ดีมาก |
26 - 50 ดี |
51 - 100 ปานกลาง |
101 - 200 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ |
201 ขึ้นไป มีผลกระทบต่อสุขภาพ |
AQI | ความหมาย | สีที่ใช้ | คำอธิบาย |
0 - 25 | คุณภาพอากาศดีมาก | ฟ้า | คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว |
26 - 50 | คุณภาพอากาศดี | เขียว | คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ |
51 - 100 | ปานกลาง | เหลือง | ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง |
101 - 200 | เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ | ส้ม | ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ |
201 ขึ้นไป | มีผลกระทบต่อสุขภาพ | แดง | ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ |
คำนวณจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยมีระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่างๆ ดัง (ตารางที่ 2) การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศภายในช่วงระดับ เป็นสมการเส้นตรง ดังนี้
กำหนดให้
I = ค่าดัชนีย่อยคุณภาพอากาศ
X = ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากการตรวจวัด
Xi , Xj = ค่าต่ำสุด, สูงสุด ของช่วงความเข้มข้นสารมลพิษที่มีค่า X
Ii , Ij = ค่าต่ำสุด, สูงสุด ของช่วงดัชนีคุณภาพอากาศที่ตรงกับช่วงความเข้มข้น X จากค่าดัชนีย่อยที่คำนวณได้ สารมลพิษทางอากาศประเภทใดมีค่าดัชนีสูงสุด จะใช้เป็นดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ณ ช่วงเวลานั้น
AQI | PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) |
PM10 (มคก./ลบ.ม.) |
O3 (ppb) |
CO (ppm) |
NO2 (ppb) |
SO2 (ppb) |
---|---|---|---|---|---|---|
เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง | เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง | เฉลี่ย 1 ชั่วโมง | ||||
0 - 25 | 0 - 25 | 0 - 50 | 0 - 35 | 0 - 4.4 | 0 - 60 | 0 - 100 |
26 - 50 | 26 - 37 | 51 - 80 | 36 - 50 | 4.5 - 6.4 | 61 - 106 | 101 - 200 |
51 - 100 | 38 - 50 | 81 - 120 | 51 - 70 | 6.5 - 9.0 | 107 - 170 | 201 - 300 |
101 - 200 | 51 - 90 | 121 - 180 | 71 - 120 | 9.1 - 30.0 | 171 - 340 | 301 - 400 |
มากกว่า 200 | 91 ขึ้นไป | 181 ขึ้นไป | 121 ขึ้นไป | 30.1 ขึ้นไป | 341 ขึ้นไป | 401 ขึ้นไป |
PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ มคก./ลบ.ม. หรือ µg./m3
ทดลองคำนวนค่าดัชนีคุณภาพอากาศพารามิเตอร์ | ค่าดัชนี AQI TH | ระดับสี TH | ค่าดัชนี AQI US | ระดับสี US | |
PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง | 108 µg./m3 | มากกว่า 200 | ระดับสี TH | มากกว่า 200 | ระดับสี US |
สารมลพิษในบรรยากาศ (Air Pollutants) |
ค่ามาตราฐาน (standards) จะต้องไม่เกิน |
ค่าเฉลี่ยเวลา (Averagingtime) |
วิธีตรวจวัด | |
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ | ประกาศกรมควบคุมมลพิษ | |||
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน 6, 9 Particulate matter with an aerodynamic diameter less than or equal to a nominal | 0.005 mg/m3 | 24 ชั่วโมง | วิธีตรวจวัดมาตรฐาน Feferal Reference Method (FRM) ตามที่องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US EPA) กำหนด 6 (ระบบกราวิเมตริก) | กำหนด 6 (ระบบกราวิเมตริก) - วิธีเบต้า เรดิเอชั้น แททเทนนูเอชัน (Beta Radiation Attenuation) - วิธีเทปเปอร์ อิลิเมนต์ ออสชิเลติง ไมโครบาบานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance:TEOM) - วิธีกระเจิงของแสง (Light Scattering) - วิธีเก็บตัวอย่างด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบไดโคโตมัส 9 (Dichotomous Air Sampler) |
0.025 mg/m3 | 1 ปี |
ระบบศูนย์ข้อมูล PM2.5 และเครือข่ายคุณภาพอากาศสำหรับกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์